โซเดียมไฮยาลูรอเนต เล็กพิเศษ

8,000Da
Super Low Molecular Weight
Sodium Hyaluronate

ไฮยาเรียกได้หลายชื่อ หลายแบบ เช่น

  • ไฮยา
  • ไฮยาลูรอน
  • กรดไฮยาลูรอนิค หรือ Hyaluronic Acid เป็นไฮยาที่ใช้ทั่วไปในครีมที่เราเห็นตามท้องตลาด
  • โซเดียมไฮยาลูรอเนต หรือ Sodium Hyaluronate หรือ Hyaluronate เป็นเกลือของ Hyaluronic Acid ตัวนี้ราคาแพง คือดีสุด ทำออกมามีโมเลกุลเล็กกว่า ให้ผิวดีกว่า และกักเก็บความชุ่มชื้นได้มากและนานกว่า

ไฮยาเป็นสารที่เก็บน้ำระหว่างเซลล์ผิว เมื่ออายุมากขึ้น มลภาวะ และความเครียดทำให้ไฮยาลดลง ผิวขาดน้ำ เกิดริ้วรอย เมื่อเราเติมไฮยาจากพิกให้ผิว ไฮยาจะเคลือบเป็น​ฟิล์ม​ตรึง​น้ำ​ ตรึง​ความ​ชุ่มชื้น​ ทำให้หน้าเด้งชุ่มชื้นมากกว่าปกติแบบไม่มัน และยังนำพาสารอื่นในเซรั่มซึมลงผิวไปด้วย และจะซึมลึกสุดเพราะเป็นแบบโมเลกุลเล็กสุด สำหรับคนเป็นสิวเมื่อหน้าชุ่มชื้นดี ผิวก็จะไม่ระคายเคือง และไม่เป็นสิว เมื่อผิวแข็งแรง สิวก็จะหาย และหน้าดูเด็ก เนียนเรียบขึ้น ริ้วรอยลดลง ร่องรอยตีนกาจางลง หลุมสิวตื้นขึ้น หน้าเด้ง

พิกไม่ใช้ไฮยา 4D 8D

ไฮยาแบ่งเป็น 3 แบบ โมเลกุลเล็ก กลาง และใหญ่ และมีการทำให้ใช้งานง่ายขึ้น เป็นโซลูชั่น 3D 4D หรือ 8D Hyaluronic Acid ซึ่งเป็นชื่อทางค้าที่ตั้งขึ้น มีมากมายหลายเจ้า และมีชื่อเรียกหลายยี่ห้อ ซึ่งก็มาจากพื้นฐานไฮยาลูรอนแบบชนิดผงสีขาว พิกไม่ได้ใช้แบบที่ว่า เพราะใช้ Sodium Hyaluronate โมเลกุลเล็กสุด Super Low MW 8,000 Da ที่ดีกว่า และเป็นแบบผงบริสุทธิ์ ที่ให้หน้าเด้งกว่ามาก

และแพมไม่ใช้ไฮยา 4D 8D เพราะการใช้แบบ​ผง​จะถูกกว่าแบบน้ำ​จะราคา​สูง​กว่า​จากการขนส่ง​ สาร​ที่​ดี​ควร​เป็น​แบบ​ผง​ เพื่อ​ให้​การ​ขนส่ง​ข้าม​ประเทศง่าย​และ​ถูก และใส่เยอะได้เพื่อให้เห็นผลกว่า​ โดย​ใช้​ Homogenizer เฉือนแรงๆ​ แต่​แบรนด์อื่น​อาจ​ใช้​แบบ​น้ำ​ 4D หรือ 8D Hyaluronic Acid ที่ใช้​ง่าย​​ แต่จะให้หน้าเด้งน้อยกว่า​

4D 8D Hyaluronic Acid เป็นสารละลายที่เข้มข้นมากสุด 5% ดังนั้น การนำมาใช้จะใช้ง่ายกว่าแบบผงที่พิกใช้ ถ้าเทียบ Hya เท่ากัน จะถูกกว่า เพราะขนส่งง่ายกว่า แต่จะใช้งานยากและเสียเวลากว่าเพราะเป็นผงที่ละลายน้ำยากมาก

เช่น เซรั่มไฮยา ในสูตรเข้มข้นสูงปกติใส่ 2-5% ถ้าใส่ 5% และสาร Breakdown เป็น 5% 4D หรือ 8D Hyaluronic Acid ครีมที่ใช้จะมีไฮยาจริงเพียง 5*5/100 = 0.25%

ซึ่งถ้าเทียบกับ Super serum ที่ใช้แบบผง เข้มข้นถึง 7% แบบเพียว 7% กับ 0.25% ถือว่าต่างกันมาก และ Super Serum ยังเป็นแบบ Extra Low MW โมเลกุลเล็กสุด 8,000Da หรือแบบโมเลกุลเล็กแบบพิเศษ 100% ไม่ได้ผสมกับไฮยาโมเลกุลใหญ่ที่ราคาถูกกว่า

พิกใช้แบบ Powder หรือผงสีขาว ซึ่งมีสารเต็ม 100% ไม่ใช่แบบ Hyaluronic Serum หรือ 4D หรือ 8D Solution ที่เป็นแบบพร้อมใช้ 5% ทำให้เซรั่มไฮยาทั่วไป ถ้า 100g จะมีไฮยา 5/100*100 = 5g หรือ 5/100 = 0.05% เท่านั้น น้อยกว่า 7% แบบผงบริสุทธิ์ของ Super serum มาก

เล็กพิเศษ 8,000 ดาลตัน

พิก​ใช้​ Sodium Hyaluronate เล็กสุดในตลาด​ 8,000Da Super Low Molecular Weight ซึมลึกสุด เบาเหมือนไม่ได้ทา เด้งเหมือนผิวเกิดใหม่ ​และ​เข้มข้น​มาก​ถึง​ 7% ใน Super serum แบบโมเลกุลเล็กสุด​ 100% ไม่มี​โมเลกุล​ใหญ่ และไม่มีเจลอย่างเช่น carbopol หรือ cellulose หรือ xantan gum ผสมเพื่อลดต้นทุน จึงเห็นผลแท้จริง ซึมเข้าผิวชั้นในได้ ให้ผิวเด้งชุ่มชื้นตั้งแต่ชั้นในผิว ตึงภายในผิวทันทีที่ใช้ และ​พา​ส่วน​ผสมอื่น​ซึม​ลึกเข้าในผิว ให้ผิวเรียบเนียนกว่าหลายเท่าตัว สิวและริ้วรอยแก้ได้ด้วยไฮยารูลอน สารนี้คือดีที่สุดเรื่องให้ความชุ่มชื้น ผิวแข็งแรงจากภายใน

ไฮยาแบรนด์ทั่วไปใช้ 0.5% แบบโมเลกุลใหญ่ 1.5 ล้านดาลตัน หรือบางแบรนด์พรีเมี่ยมใช้เล็กสุด 5,000 ดาลตัน แต่เป็นการผสมของหลายโมเลกุลที่ 0.5% ซึ่งเข้มข้นน้อยกว่าของพิกมาก ซึ่งพิกโบทานิค ซุปเปอร์ เซรั่มใช้ 8,000 ดาลตัน มากถึง 7% แบบโมเลกุลเล็กพิเศษ โดยไม่มีการผสมโมเลกุลใหญ่เพื่อลดต้นทุน

และบางแบรนด์ใช้แบบ 4D Solution ซึ่งสามารถเคลม % สูงๆ ได้ อาจเคลม 5% แต่แท้จริงแล้ว Breakdown มา ได้ไม่ถึง 0.5% เพราะที่เหลือเป็นน้ำ

ไฮยา 5% ในสูตร ?

บางยี่ห้อเคลมไฮยา 5% หรือ 5% hyaluronic acid เคยสงสัยกันไหม ไฮยาเป็นผงสีขาวนี้เราจะนำมาปั่นด้วยความเร็วสูง แรงเฉือนของหัวปั่นที่ทำหน้าที่คล้ายใบมีดหลายพันใบที่จะเฉือนไฮยาออกจากกันเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และละลายในน้ำ ซึ่งกระบวนการค่อนข้างทำยาก แต่ก็ไม่ได้ยากจนเกินไป แต่พอมีไฮยาลูรอนแบบ 5% เข้มข้น ก็ทำให้ใช้งานขึ้น แต่แลกกับราคาต้นทุนที่สูงขึ้นกว่าแบบผง

ที่นี้ปกติไฮยา ส่วนใหญ่โมเลกุลที่ขายดี จะเป็น 1.5 ล้านดาลตัน หรือประมาณนี้ ซึ่งไฮยาตัวเดียวก็ให้เนื้อเซรั่มสวย หากจะใช้โมเลกุลเล็กไม่ให้เนื้อ และราคาจะแพงมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ซึ่งไม่นิยม จึงใช้โซลูชั่นที่ใช้ง่าย และรวมมาทุกโมเลกุล และโดยรวมคือถูกกว่าแบบใช้โมเลกุลเล็กอย่างเดียวแทน

ยกตัวอย่าง Cristalhyal คริสตัลไฮอัลจากฝรั่งเศษ ราคาประมาณ 44,000 บาท/กิโลกรัม ขนาดโมเลกุล 1-1.4 ล้านดาลตัน ใส่ได้ 1%

Cristalhyal ใส่ควร 0.3-0.5% เต็มที่ 0.8% ก็ปั่นค่อนข้างลำบากมากแล้ว ถ้า 1% แทบจะปั่นไม่ได้ ต้องใช้หัวปั่นขนาดใหญ่ และความเร็วสูงมาก ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่า ที่เคลมมากกว่า 1% ในสูตรคือไฮยาขนาดไหนกันแน่ หรือท้ายที่สุด คือไม่ใช้ 5% ตามที่เคลม หรือจกตา หมายถึงสารที่ใช้ คือ ใช้ไฮยาลูรอนแบบ 5% ไม่ใช่มี 5% ในสูตร ซึ่งทำให้เกิดการสับสนได้ง่าย ซึ่งหากกรณีนี้จะหมายถึง 5*5/100 หรือมี 0.25% ไฮยาลูรอน ถึงจะค่อนข้างเมคเซนแล้ว

ข้อยกเว้น คือ หากใช้โมเลกุลเล็กอย่าง 8,000 ดาลตัน ซึ่งราคาสูงมาก สามารถใส่ไปได้ถึง 7% แต่ต้นทุนจะสูงมาก และไม่ทำให้เกิดเนื้อเซรั่มไฮยาลูรอนสวยๆ จะได้มาเหมือนเพียงน้ำเปล่าเหลวๆ เท่านั้นเอง ทำให้ผู้ใช้เหมือนไม่เกิดอะไรตอนทา ไม่มีการเคลือบผิวภายนอกเหมือนไฮยา Cristalhya

ไฮยา vs คอลลาเจน

ไฮยาดีกว่าคลอลาเจน เพราะคอล​ลา​เจนไม่ซึมเข้าผิว เพราะเป็นโปร​ตีน​ที่​มี​ขนาด​โมเลกุล​ใหญ่​มาก แม้​จะ​เป็น hydrolyzed collagen ที่​โมเลกุล​เล็ก​ขนาด​ไหน​ก็​ตาม ก็​ไม่ได้​เล็ก​กว่า สาร​ที่​ดี​กว่า​อย่างโซเดียมไฮยาลูรอนเนต

คอลลาเจน​เป็น​ส่วนประกอบ​ของ​ผิว ซึ่งคอลลาเจนในเครื่องสำอางจะมาจากสัตว์ทั้งหมด​ เช่น หนัง​สัตว์​ที่​ส่วน​เหลือ​จาก​การ​เอา​ไป​เครื่อง​หนังอีกที ​คอลลาเจน​และ​อีลาสติ​น เป็น​สาร​ให้​ความ​ชุ่มชื้น ในลักษณะ​ของ​ film former ที่​เคลือบ​ไว้​บน​ผิว ให้ความชุ่มชื้น แต่ไม่สามารถซึมเข้าไปในผิว ​ใช้ไกคอลยังดี​กว่า​และ​อ่อนโยน​กว่า

งาน in-cosmetics หรือ​งาน​แสดง​นวัตกรรม​ด้าน​เครื่อง​สำอาง​ จึง​มี​น้อยเจ้าและไม่มี​ใคร​ทำ​ออก​มา​หลาย​รูป​แบ​บเท่าไฮยาที่เป็นสาร​ที่​ควร​ให้​ความ​สนใจมากกว่า ไฮยารับน้ำหนัก​น้ำ​ได้ 200-1000 เท่า แล้ว​แต่​ว่า​เจ้า​ไหน​จะ​ว่า​ไป จะ​เคลม​ว่ายังไง แต่​ให้ความชุ่มชื้น​ดี​ที่​สุด และ​ดี จึง​มีซัพพลาย​เออ​ร์ หลาย​เจ้า​ทำ​ออก​มา​หลาย​แบบ ซึ่ง​พิกใช้ตัวที่ดีที่สุด และ​เล็ก​มาก​ที่​สุด​ใน​ตลาด extra-low sodium hyaluronate​ ขนาดน้ำหนัก​โมเลกุล​ 8000 Da ร่วม​กับไกลคอล ที่​ดี​ที่​สุด​จาก​ญี่ปุ่น มี​ความ​ชุ่มชื้น​สูง​โดย​ไม่​ทำ​ให้​ผิว​ร้อนวูบ และ​ยัง​อ่อนโยน​สูง ทำให้​พิก​ใช้ดีกว่า

หน้าเด้งด้วยไฮยาจากพิก