พิกแต่ละขวด ไม่เหมือนกันในบางครั้ง ?

สูตร​ของ​เรา​จะ​มี​การ​ปรับปรุง​อยู่​เสมอ ด้วย​สาร​ที่​คัด​เลือก​จาก​เจ้า​ใหม่​ๆ ​ถึง​จะ​เป็น​สาร​ชนิด​เดียว​กัน ชื่อ​สาร​เดียว​กัน แต่​มี​ความ​แตกต่าง​ด้าน​คุณสมบัติ​ที่​ดี​กว่า และอาจมีการปรับสูตรเล็กน้อย เพื่อให้สินค้าใช้งานขึ้นด้วย

แพม​อยาก​ลอง​ปรับ​ดู​ใน​แต่​ล็อต​ด้วย​ เพราะ​ทำน้อยกับทำมาก จะ​ได้​ไม่​เหมือนกัน ปรับ​วิธี​การ​ผลิต​ให้ทำในสเกลใหญ่​ได้​ง่าย เพราะ​สูตร​ของ​แพม​จะ​เข้มข้น​เกิน​ พอ​ทำ​เยอะ​ๆ เลย​ทำยาก

เนื้อสัมผัส

การ​ที่เนื้อเซรั่ม​หนืด​หรือ​ข้น ขึ้นอยู่​กับ​ขนาดของโมเลกุล​ แต่​ทั้ง​สอง คือ​โมเลกุล​เล็ก​ทั้ง​หมด แต่​ถ้า​เล็ก​มากๆ จะ​เหลว​ไป​เลย สาร​ตัว​นี้​มี​ราคา​สูง​มากๆ ดังนั้น​การ​เปลี่ยน​ผู้​ผลิต​สาร จึง​ทำ​ให้​ผล​ออกมาต่างกัน แต่​เรา​ใช้​ความ​เข้มข้น​เท่ากัน​ครับ

ถ้า​ได้​ตัว​เนื้อ​เหลว​ไป = ดี​มาก​ๆๆ
ถ้า​ได้​ตัว​เนื้อ​หนืด​ไป = ดี​มาก
แต่​ทั้ง​สอง​ก็​อยู่​ใน​กลุ่ม low molecular weight ดังนั้น ทั้งสองตัวนี้คือ ดีมากแล้วครับในการบำรุง แต่บางอย่างอาจจะหนืดขึ้น แล้วแต่สูตรด้วย

สูตรตั้งต้น พิก

คือ สารตัวที่เหลวมาก ๆ เพราะโมเลกุลเล็กสุด แพงสุด ซึ่งขาดตลาดบ่อยๆ และหลายแบรนด์แทบไม่ใช้กัน เนื่องจาก

  1. เหลวเหมือนน้ำเปล่า ลูกค้าได้สินค้าไปนึกว่าน้ำเปล่า แต่จริงๆ คือใช้สาร ปริมาณเท่ากัน
  2. ขายยาก เพราะนึกว่าขายน้ำเปล่า แต่จริงๆ คือเห็นผลดีสุด
  3. ลูกค้าได้รับของแล้วตกใจ เพราะนึกว่าโดนหลอกขายน้ำเปล่า แต่จริงๆ คือ แพงสุด
  4. ปัญหาคำถามเยอะแยะมากมาย
  5. เคยใช้แบรนด์อื่นเข้มข้นกว่านี้ แต่จริงๆ คือ เจล carbomer หรือ carbopol ราคาแสนถูก
  6. เคยใช้ตัวอื่นๆ แบรนด์อื่นไม่มีที่ไหนเป็นแบบนี้ เซรั่มมันต้องเข้มข้นต้องหนืดๆ
  7. ทาแล้วไม่รู้สึกอะไรเลย แต่จริงแล้ว คือ โมเลกุลเล็กซึมเร็วและหมดจด
  8. ใช้แบรนด์อื่นดีกว่า แบรนด์นี้ขายน้ำเปล่า ไม่เข้มข้นเลย แต่จริงแล้ว คือ ความเข้มข้นไม่ได้วัดที่เนื้อเข้มข้น
  9. เพราะเพียงเติม thickener ลงไป เป็นการปรับเนื้อให้เหมาะสม ซึ่งไม่ได้ช่วยบำรุงแต่อย่างใด แต่หากเนื้อข้นก็ซึมเข้มผิวยาก สู้ตัวเหลวๆ ไม่ได้ และเนื่อง​จาก​สารมี​ราคา​สูง​มาก

ดังนั้น ​เวลา​ผลิต​ก็​จะ​มี​ซัพพลาย​เออร์หลายเจ้ามาเสนอ อัน​ไหน​ถูก​กว่า​และ​ได้​ผลลัพธ์​ดี​เหมือนกัน​ก็​จะ​เอา​อันนั้น แต่​โมเลกุล​จะ​ไม่​เท่ากัน เพราะ​แต่​ละ​เ​จ้า​จะ​ผลิตสารที่ขนาดไม่เท่ากัน

หากคิด​ว่า​การ​ผลิต​ไม่มี​มาตรฐาน​

  1. ผลิต​แบบ batch จะ​ได้​เนื้อไม่​เท่า​กัน​ใน​แต่​ละ​ครั้ง​อยู่​แล้ว เป็น​เรื่อง​ปกติของในการอุตสาหกรรม
  2. สาร​ที่​ใช้​ไม่ได้​เป็น​สาร​ราคา​ถูก​ที่​จะ​สั่ง​เจ้า​นั้น​ๆ อยู่​ตลอด​เวลา ดังนั้น​ต้อง​หา source อยู่​เสมอ
  3. สาร​เป็น​ลักษณะ​พิเศษ​ที่​มี​หลายระดับโมเลกุล แต่​มี​ชื่อ​เรียก​เดียว​กัน คือ Sodium Hyaluronate
  4. ถ้า​ขึ้น​เจล​ด้วย carbomer จะ​ได้​เนื้อ​เหลว​เท่ากัน​ๆ เพราะ​ราคา​ถูก​มาก ดังนั้น วิธี​การ​แก้​คือ ใช้​ตัว​หลัก cabomer ผสม Sodium Hyaluronate​ เพื่อ​เคลม​ว่า​มี​สาร​ตัว​นี้​อยู่ เพราะ อย. ไม่ได้กำหนด จะ​ใส่​น้อย​เท่าไร่​ก็​เคลม​ได้ แต่​พิก​ไม่ได้เป็นแบบนี้ เพราะ​พิกเป็น Sodium Hyaluronate​ 100%
  5. แบรนด์ทั่วไป ฝ่ายที่จัดหาวัตถุดิบคือ sourcing บางเจ้าใช้คอนเนคชั่น อาจไม่ได้แหล่งที่ดีที่สุด แต่ง่ายและสะดวกกว่า จึงสั่งเจ้านั้นอยู่เป็นประจำทำให้ได้สินค้าคุณภาพเดิมๆ อยู่ทุกครั้ง
  6. เนื่องจากพิกมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ตามหาแหล่งวัตถุดิบที่ดีกว่า และเนื่องจากเครื่องสำอางมีส่วนประกอบที่มากมาย และปรับเปลี่ยนวัตถุดิบในแต่ละเจ้า ก็ทำให้เนื้อครีมมีลักษณะที่แตกต่างกันด้วย

ระยะเวลาบรรจุ

เนื่องจากการบรรจุต้องใช้ระยะเวลานาน ดังนั้น ครีมที่อยู่ก้นถังจะมีความข้นกว่าด้านบนถังเล็กน้อย จึงทำให้ขวดในแต่ละขวดมีความแตกต่างเล็กน้อย

สีของฉลาก กล่อง

เนื่องด้วยสติกเกอร์และกล่องไม่ได้พิมพ์ด้วยระบบ 4 สี หรือ 8 สีแบบทั่วไป แต่พิมพ์ด้วยเทคนิคพิมพ์สีพิเศษ ซึ่งต้องใช้สีที่สั่งมาพิเศษหรือผสมจากแม่สีก่อนเข้ากระบวนการพิมพ์ ทำให้กล่องและฉลากมีความคมชัดสูง แม้ตัวอักษรเจาะขาวที่มีขนาดเล็ก ดังนั้น การพิมพ์ในแต่ละครั้งจะใช้สีคนละชุด คนละล็อตและแม่พิมพ์ที่ผลิตใหม่ในทุกล็อตเพื่อความสะอาดของแม่พิมพ์ และป้องกันสีที่ไม่สม่ำเสมอ สีจึงคลาดคลื่นอยู่ตลอดเวลาและไม่เท่ากันในทุกๆ ครั้ง แต่อย่างไรก็ตามจะมีขอบเขตสีเข้มและสีอ่อนที่ยอมรับได้ เพื่อให้งานพิมพ์มีสีใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุด แม้จะพิมพ์ที่โรงพิพม์เดียวก็ตาม

ในบางครั้งอาจพิมพ์อีกจากโรงพิมพ์หนึ่งในกรณีที่งานพิมพ์อีกโรงมีคิวงานที่น้อยกว่า ซึ่งทำให้พิมพ์ได้เร็วขึ้น แต่สีอาจจะเพี้ยนไปมาก หรือในบางครั้ง อาจมาจากเทคนิคการพิมพ์อื่นที่ต้องการความรวดเร็วของงานมากกว่า ในขณะที่คุณภาพเท่ากัน