แชมพู หรือ ยาสระผม คือสิ่งปรุงแต่งของสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ใช้ขจัดสิ่งสกปรกออกจากเส้นผมและหนังศีรษะ ซึ่งอยู่ในรูปของเหลว ครีม เจล ผงหรือเม็ด ก้อน หรือฟอง
ส่วนประกอบของแชมพู
1. ส่วนประกอบหลัก แบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม
- สารชำระล้างชนิดประจุลบ (anionic surfactants)
- สารชำระล้างชนิดประจุบวก (cationic surfactants)
- สารชำระล้างชนิดไม่มีประจุ (nonionic surfactants)
- สารชำระล้างชนิดมีสองประจุ (amphoteric surfactants)
2. ส่วนประกอบเสริม
- สารปรับสภาพเส้นผม (conditioning agent)
- สารเพิ่มฟอง (foam builder)
- สารช่วยทำให้ข้น (thickening agent)
- สารช่วยทำให้ใส (clarify agent)
- สารช่วยให้ทึบแสง (opacifying agent)
- สารกันการรวมตัวหรือสารซีเควสเตอร์ (sequestering agent)
- สารปรับความเป็นกรดด่าง (pH adjuster)
- สารกันเสีย (preservative)
- ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สี น้ำหอม สารขจัดรังแค สมุนไพร ฯลฯ
ข้อแนะนำ
เลือกใช้แชมพูที่มีฟองน้อย(ไม่มีประจุไฟฟ้า)
โดยปกติผู้บริโภคจะยึดติดกับแชมพูที่มีฟองมาก ซึ่งจะทำให้มีสารตกค้างในเส้นผมมากมีผลทำให้ผมกระด้าง ทุกครั้งที่สระผมควรล้างสารตกค้างออกจากเส้นผมด้วยน้ำสะอาดให้หมดจด
ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ผมเสีย
เช่นการเป่าผม ความร้อน น้ำยาดัดผม แสงแดด และการกัดสีผม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นตัวการสำคัญทำให้ผมเสียแห้งและ แตกปลาย
ควรแปรงผมจากหนังศีรษะถึงปลายผมบ่อย ๆ
เพราะจะทำให้น้ำมันจากรากผมมาเคลือบเส้นผมให้เป็น เงา
ใช้แชมพูให้น้อยลง
หน้าหนาวเส้นผมจะแห้งและสระผมตามความเหมาะสม ซึ่งแต่ละคนจะมีอัตราความถี่ไม่เท่ากัน หลังสระผมให้ใช้น้ำมันลูบเส้นผมที่เปียกจะทำให้ผมนิ่มและลื่นขึ้น
ควรเปลี่ยนแชมพูที่ใช้เป็นระยะๆ
เพราะการใช้แชมพูซ้ำ ๆ จะทำให้หนังศีรษะรับสารเคมีชนิดเดิมตลอดเวลาซึ่งจะเป็นผลเสียต่อรากผม
ก่อนสระผมด้วยแชมพู ให้ล้างผมด้วยน้ำเปล่า เพื่อชะล้างสิ่งสกปรกบนเส้นผมออก ชโลมแชมพูให้ทั่วศีรษะ อย่าเทแชมพูบนหนังศีรษะโดยตรง นวดศีรษะอย่างนุ่มนวล หลีกเลี่ยงการเกาด้วยเล็บหรือขยี้แรงๆ ล้างแชมพูออกให้สะอาดหมดจด เช็ดผมให้แห้ง อย่าดึงหรือกระชากผมอย่างแรง หากจะใช้เครื่องเป่าผม ควรถือให้ห่างจากเส้นผมประมาณ 1 ฟุต ไม่ควรเข้านอนขณะที่ผมยังเปียก อาจทำให้เกิดเชื้อราหรือทำให้ปวดศีรษะได้ หลีกเลี่ยงการสระผมตามร้านเสริมสวย ซึ่งช่างมักจะสระอย่างแรง ทีละ 3 – 4 ครั้ง ไม่ดีต่อสุขภาพหนังศีรษะแน่ๆ